Kung Narak ป.บัณฑิตวิชาชีพครู รุ่น 10

อยากบอกใครหลายคน การที่คนเราได้มาพบกัน โดยมิได้นัดหมาย มีนิสัยใจคอที่แสนจะแตกต่าง เวลาตกฟากก็ต่าง ความสวยก็ต่าง ความมีอันจะกินก็ต่าง แต่สิ่งสำคัญที่พวกเราค้นพบ คือ มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน "ในการเป็นแม่พิมพ์ที่ดีของชาติ" เวลาดี ๆ ตลอด 1 ปี เต็มที่ผองพวกเราได้รับความรู้ทางวิชาชีพครู จากพระอาจารย์ ขอเอ๋ยชื่อ เพื่อเทิดทูน อาทิ อาจารย์แม่สุนีย์ , อาจารย์อังคณา , อาจารย์สมศักดิ์ , อาจารย์สุรีย์ , อาจารย์ถาวร , อาจารย์ชวน , อาจารย์ชัยฤทธิ์ , อาจารย์นิมิตร , อาจารย์ดารารัตน์ , อ.ไพบูลย์วรรณ และอาจารย์อีกหลาย ๆ คน อ้อ? ที่สำคัญพี่ตาสุดสวยที่อยู่เบื้องหลังด้วย บุตคลเหล่านี้ได้ร่วมสร้างสรรค์แต่งแต้มให้ผองพวกเราลูกศิษย์จอมเฮี้ยว ทั้ง 26 ชีวิต ได้ดี นอกจากการเรียนรู้ที่เข้มข้น ยังมีกิจกรรมที่ให้ผองพวกเราได้ร่วมแสดงออกถึงมิตรภาพอันแสนดี ที่ทรงคุณค่า ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ห่วงใยเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน มีเพื่อนของเราคนนึง พี่อุ๊ ป่วยถึง 5 โรค แต่พวกเราทุกคนก็ก้าวไปพร้อมกัน มิอาจลืม จนอาจจะกล่าวได้ว่า หากไม่ได้เรียน รุ่น 10 "เสียดายจัง"รักนะป.บัณฑิต รุ่น10

๓๐/๑๑/๕๐

เทคนิคการค้น Internet Search Engines ชนิดต่างๆ

เทคนิคการค้น Search Engines ชนิดต่างๆ มีหลักเกณฑ์ทั่วไปคล้ายคลึงกัน คือ สามารถค้นแบบง่ายๆ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า "Natural Language Searching" ก็ได้ หรืออาจใช้ชุดคำค้นที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยใช้ "Boolean Expressions" เข้าช่วยก็ได้(คำว่า "Boolean" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ George Boole นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ในศตวรรษที่ 19 ผู้เสนอแนวความคิดว่า logical thought สามารถอธิบายได้โดยใช้หลัก algebra) Sites บางแห่ง ให้บริการในลักษณะ Muliple Search Engines (Meta Search Engines) คือ สามารถค้นข้อมูลจาก Search Engines หลายๆ ชนิดได้พร้อมกันในคราวเดียว ได้แก่ Metacrawler, SavvySearch, Dogpile เป็นต้น

เทคนิคการค้น Internet Search Engines

1. ใช้เครื่องหมาย + นำหน้าคำที่ต้องการให้ปรากฏในผลการค้น เช่น
+multimedia +material

2. ใช้เครื่องหมาย - นำหน้าคำที่ไม่ต้องการให้ปรากฏในผลการค้น เช่น
+thailand -education

3. ใช้เครื่องหมายคำพูด " .. " คร่อมวลี เพื่อให้ค้นตรงตัว เช่น
"multimedia materials"

4. ใช้เครื่องหมาย * ต่อท้ายคำ เพื่อให้ค้นคำทั้งหมด ที่เริ่มต้นด้วยอักษรดังกล่าว เช่น
material*

5. ใส่ตัวเชื่อม operator u: หน้าคำที่ต้องการค้น เพื่อจำกัดให้ค้นจาก Web Address (หรือ URLs) เท่านั้น เช่น
u:mahidol

6. ใส่ตัวเชื่อม operator t: หน้าคำที่ต้องการค้น เพื่อจำกัดให้ค้นจากชื่อ (Document Titles) เท่านั้น เช่น ต้องการค้นหา WebSites ที่เกี่ยวกับ Mahidol University
t:mahidol university

7. การใช้ตัวเชื่อมหลายชนิดผสมกัน เช่น ต้องการค้นหา WebSites ทั้งหมด ที่เป็นหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย (.go.th) แต่ไม่ต้องการ คำว่า Health ไม่ว่าจะอยู่ใน Web Address (URLs) หรือใน Document Titles
+u:.go.th -t:health -u:health

7.1) Basic Search สามารถค้นในลักษณะ "natural language searching" ได้ โดยการพิมพ์คำต่างๆ ลงไป โดยตรง ตัวอย่างเช่น
picture of the sphinx
restaurants in Washington, DC
NASA space shuttle program

โปรแกรมจะทำการค้นหา Web Pages ที่ประกอบด้วยคำทั้งหมด อย่างน้อย 1 คำ แต่จะแสดงรายชื่อ Web Pages ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดก่อน (ประกอบด้วยคำทั้ง 4 คำ) โดยแจ้งปริมาณความเกี่ยวข้องเป็น % ให้ด้วย และเรียงลำดับที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ลงไปจนถึงน้อยที่สุด ซึ่งเป็น WebPages ที่เกี่ยวข้องเฉพาะคำว่า NASA หรือ space หรือ shuttle หรือ program อย่างใดอย่างหนึ่ง(มีผลเช่นเดียวกับการใช้ boolean operator OR ดังนี้ NASA OR space OR shuttle OR program)

7.2) Advanced Searching เป็นการค้นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการใช้ boolean operators ต่างๆ ดังนี้
การเชื่อมคำด้วย AND, OR, NOT (พิมพ์ตัวเล็กหรือใหญ่ก็ได้)
การบังคับค้น โดยใส่เครื่องหมาย + หน้าคำที่ต้องการ หรือเครื่องหมาย - หน้าคำที่ไม่ต้องการ เช่น +san +francisco -restaurants -hotels (พิมพ์ +,- ให้ติดกับคำ และวรรคระหว่างคำ)
การพิมพ์ให้เป็นวลี โดยใช้เครื่องหมายคำพูดคร่อม เช่น "animal magnetism" ซึ่งจะมีความหมายเช่นเดียวกันกับ animal ADJ magnetism คือทั้งสองคำอยู่ติดกัน แนะนำให้ใช้เวลาต้องการค้นชื่อบุคคล เช่น "Bette Davis"
ในกรณีที่เชื่อมคำหลายๆคำ ด้วย operator ที่แตกต่างกัน ควรใส่วงเล็บด้วย เช่น Homer NOT (Simpson OR Alaska) หมายถึงให้ค้นชื่อ Homer ยกเว้น Homer Simpson กับ Homer Alaska
ตัวอย่างการค้น เกี่ยวกับ PC operating systems ที่ไม่ใช่ Microsoft Windows ของ Bill Gates เขียนชุดคำค้นดังนี้
"PC operating systems" -windows -microsoft -"Bill Gates"

8. Basic Search พิมพ์คำค้นต่างๆ ลงไปตามต้องการ ตัวอย่างเช่น
recipe oatmeal raisin cookies

9. โปรแกรมจะค้นในลักษณะ "natural language searching" ซึ่งผลการค้นที่ได้จะมีจำนวนมาก แต่จะแสดงผลการค้น ที่ตรงที่สุดขึ้นมาก่อน (ได้แก่ WebPages เกี่ยวกับ recipes for oatmeal raisin cookies ประกอบด้วยคำทั้ง 4 คำ ) จากนั้นจะเรียงลำดับความเกี่ยวข้อง ลดหลั่นกันลงไป

9.1) พิมพ์คำค้นในลักษณะวลี (phrase) ได้ โดยใส่เครื่องหมายคำพูดคร่อม เช่น "you ain't nothing but a hound dog" หรือใส่เครื่องหมาย dashes, underscore lines, commas, slashes, dots แทนได้ เช่น 1-800-999-9999
9.2) เลือกค้น Webpage ที่เขียนเป็นภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษได้ โดยใช้ Language pull-down menu
9.3) การพิมพ์คำค้นด้วยอักษรตัวเล็ก เช่น paris โปรแกรมจะค้น Paris, paris, PARIS แต่ถ้าพิมพ์ตัวใหญ่ เช่น Paris โปรแกรมจะค้นตรงตัวสะกดว่า Paris เท่านั้น
9.4) ระบุให้ค้น หรือไม่ค้นคำได้ โดยการใช้เครื่องหมาย +, - นำหน้า เช่น recipe cookies +oastmeal -raisin ใช้เครื่องหมาย wildcards (*) ต่อท้ายคำ เพื่อให้ค้นคำอื่นๆ ที่เพิ่มด้วย เช่น wish* หมายถึง ให้ค้น wish, wishes, wishful, wishbone เป็นต้น

10. Advanced Search การค้น AltaVista โดยปกติแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ Advanced Search นอกจากในกรณีที่ต้องการค้นโดยระบุช่วง วัน/เดือน/ปี หรือถ้าต้องการค้นโดยใช้ Boolean Operator ต่างๆ เท่านั้น เช่น

AND หรือใช้สัญลักษณ์ &

OR หรือใช้สัญลักษณ์

NOT หรือใช้สัญลักษณ์ !

NEAR หรือใช้สัญลักษณ์ ~

การใช้เครื่องหมาย +,- นำหน้าคำ ใช้ไม่ได้ใน Advanced Search

ที่มาของข้อมูล Website : http://stang.li.mahidol.ac.th/